คณะนิติศาสตร์
นิติศาสตร์
ไม่ใช่สาขาวิชาที่เน้นท่องจำอย่างที่หลายๆคนเข้าใจ
แต่เป็นวิชาที่ต้องอาศัยความเข้าใจ และการวิเคราะห์วินิจฉัย อย่างถูกต้องแม่นยำ
เพราะฉะนั้น การจะวินิจฉัยได้ดี และ ถูกต้อง เราก้อต้องเข้าใจและจำตัวบทได้
แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า เราจะต้องจำตัวบทได้ทุกตัวอักษร เพราะไม่จำเป็นเลย
ถึงเวลาทำงานจริง เราก้อเปิดประมวลกฎหมายในการทำงานอยู่ดี นอกจากนั้น
เรายังจะต้องเขียนเป็น เขียนเป็นไม่ได้หมายความว่าเขียนได้เยอะ หรือเขียนยังไงก็ได้
เราจะต้องเขียนให้ความหมายชัดเจน และสามารถเข้าใจได้
อีกทั้งต้องคำนึงถึงความสุภาพและภาษาที่ใช้ในทางกฎหมายอีกด้วย ภาษากฎหมายนั้น
ถ้าใช้ผิดเพี้ยนไปแม้เพียงเล็กน้อยก็อาจส่งผลกระทบในการตีความที่ใหญ่หลวงได้ และนอกจากความเชี่ยวชาญในการศึกษาวิชาการแล้ว
ยังจะต้องมีจริยธรรมหรือคุณธรรมสำหรับนักกฎหมายอีกด้วย
เพราะกฎหมายเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับชีวิตคน
ถ้าใช้อย่างไม่ยุติธรรมก็จะเกิดความเดือดร้อนและวุ่นวายในสังคม(อย่างที่เป็นอยู่ในสังคมปัจจุบัน)
และที่สำคัญ คนที่จะเป็นนักกฎหมายที่ดีได้ จะต้องมี Legal Mind หรือ หัวกฎหมาย ด้วย ( แต่สิ่งนี้ ฝึกกันได้ค่ะ) เรียนๆไปแล้วจะรู้เอง
นิติศาสตร์ผมขอแบ่งเป็น 3 กลุ่มหลักนะครับ
กฎหมายเอกชน
จะเน้นกฎหมายแพ่ง, พาณิชย์
และกฎหมายอาญา
ซึ่งจะมีมาตราและองค์ประกอบความผิดที่ชัดเจนสำหรับการวิเคราะห์วินิจฉัย
วิชาที่ต้องเรียนก็เช่น กฎหมายประกันภัย กฎหมายเกี่ยวกับการกระทำผิดของเด็กและเยาวชน
การบัญชีสำหรับนักกฎหมาย กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา
กฎหมายมหาชน
จะเน้นกฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง
ซึ่งจะเป็นกฎหมายที่ไม่ค่อยมีมาตรา แต่จะเน้นการตีความและสิ่งที่เป็นนามธรรม วิชาที่เราต้องเรียนก็มี กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ
ศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง กฎหมายการคลัง กฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจ
กฎหมายสิ่งแวดล้อม
กฎหมายต่างประเทศ
กฎหมายต่างประเทศจะครอบคลุมต่างประเทศในทุกด้านเช่น กฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยทะเล
กฎหมายอาญาระหว่างประเทศ กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ กฎหมายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
จบนิติศาสตร์ทำงานอะไร
ราชการ ถ้าเป็นสายตรง ก็เรียนแล้วไปเป็นผู้พิพากษาอัยการ
ซึ่งเป็นอาชีพที่มีเกียรติ รายได้ดี แต่ก็เป็นอาชีพที่เป็นได้ยากมากที่สุด
เพราะเมื่อเรียนจบแล้วจะต้องไปสอบเนติบัณฑิต ซึ่งแต่ละปีจะมีผู้สอบผ่านประมาณ 7% (พันกว่าคนจากคนสอบประมาณเจ็ดหมื่น)
แล้วเมื่อได้เนแล้ว ก็จะต้องรอให้อายุครบยี่สิบห้า
พร้อมกับมีคุณสมบัติตามที่คณะกรรมการตุลาการกำหนด เช่นเคยว่าความมาแล้วกี่คดี
เรียนปริญญาโทมาแล้วกี่ปีวิชาอะไรบ้าง (ต้องเช็คกันเป็นรายปี
เพราะกฎตรงนี้เปลี่ยนอยู่เสมอ) ก็ไปสอบผู้ช่วยผู้พิพากษา หรืออัยการผู้ช่วย ได้
ซึ่งตรงนี้ คนที่จะสอบได้จะมีประมาณ 1-3% ของคนที่ผ่านเนแล้ว
เรียกได้ว่ากว่าจะเป็นได้นี่เลือดตาแทบกระเด็น
มหาวิทยาลัยที่เปิดสอนนิติศาสตร์
จุฬาลงกรณ์ เกษตรศาสตร์ ขอนแก่นเชียงใหม่ ทักษิณ ธรรมศาสตร์ นเรศวร
บูรพา มหาสารคาม แม่ฟ้าหลวง สงขลานครินทร์ อุบลราชธานี
ที่มา: http://www.law.chula.ac.th/home/default.aspx
ที่มา: http://www.law.chula.ac.th/home/default.aspx
No comments:
Post a Comment