Thursday, July 7, 2016

6 วิธีการค้นหาตัวเองว่าถนัดด้านไหน



6 วิธีการค้นหาตัวเองว่าถนัดด้านไหน
1. เลือกและเรียงลำดับวิชาที่ชอบ และเขียนด้วยว่าทำไมถึงชอบ (หากไม่ชอบเขียน จะคิดตอบเฉยๆ ก็ได้ แต่ถ้าได้เขียนหรือพิมพ์ไว้ด้วยจะช่วยเน้นย้ำและทวนได้ว่าเราชอบจริงๆ)
ให้ระบุวิชา และสิ่งที่ชอบในวิชานั้นๆ ให้ชัดเจน หรือเลือกตามนี้
วรรณคดี
- สถิติและความน่าจะเป็น
- เศรษฐศาสตร์
- ทำอาหาร
- ประวัติศาสตร์
- การเขียนและไวยกรณ์ภาษา
- คอมพิวเตอร์
- พลศึกษา
- สุขศึกษา
- ชีววิทยา
- วิชาภาษาเฉพาะฟัง - พูด
- ฟิสิกส์
- คิดคำนวณ
- เคมี
- งานประดิษฐ์
- ดนตรี
- วาดเขียน
- งานช่าง
เนื้อหาและสาระวิชาที่เราชอบ หรือถนัด ช่วยบ่งชี้ไปถึงเส้นทางสายการเรียน หรือคณะที่เลือกในมหาวิทยาลัย หรืออาชีพที่เหมาะสมได้ เช่น ชอบสถิติ ต้องเรียนบัญชี  ชอบดนตรี เล่นเป็นอยู่แล้ว เข้าคณะดุริยางคศิลป์เลย ชอบงานช่าง น่าจะเลือกเรียนคณะวิศวกรรม เป็นต้น 
  ดังนั้นการระบุไปเลยว่าชอบเนื้อหาตรงไหนในวิชานั้นๆ จะเน้นให้เราเข้าใจตนเองได้ชัดเจนขึ้นมากกว่า บอกลอยๆ ว่าชอบวิชานั้น แต่ไม่รู้ว่าชอบตรงไหน อาจชอบเพราะครูสอนดีก็ได้ 
 2. สังเกตเวลาว่าง ว่าชอบทำอะไร มีงานอดิเรกอะไร หรืออยากจะไปทำอะไรตอนที่มีเวลาว่าง (ไม่ ใช่งานอดิเรกประเภท "ว่างก็ต้องนอน"นะจ๊ะ) เช่น น้องๆ บางคนพอใกล้วันหยุด ต้องวางแผนไปเที่ยวต่างจังหวัดทันที แปลว่า ชอบท่องเที่ยว อาจชอบอาชีพมัคคุเทศก์ หรือชอบไปตามที่ที่มีทิวทัศน์งาม พร้อมเพื่อนสนิทหน้าตาดีอีกคน เพื่อไปถ่ายรูปมุมสวยๆ เป็นต้น
3. ศึกษาอาชีพที่น่าสนใจ ก็อาชีพบนโลกเรานี้มีหลากหลาย ทำงานต่างกัน บางอาชีพเราอาจไม่รู้จักก็ได้ บางอาชีพชื่อแปลก ทำอะไรแปลกๆ เสียไม่น่าเชื่อว่ามีอยู่จริง แต่อาชีพเหล่านี้ อาจมีเนื้องานที่น่าสนใจและตลาดแรงงานอาจต้องการอย่างคาดไม่ถึงเชียว หรือบางทีอาชีพที่เราๆ อาจรู้จักกันอยู่แล้ว แต่ถ้าเราไม่ได้ไปลองศึกษาให้รู้เนื้องานจริง แล้วเลือกเรียนไป เราอาจไม่ชอบภายหลังก็ได้ ที่สำคัญแต่ละอาชีพมีแรงกดดันแตกต่างกันไป อาจไม่เข้ากับเราก็ได้ แต่เราไม่รู้ เช่น หมอ รู้ว่าเรียนยาก ต้องเก่ง ต้องเจอเลือด แต่เรากลับไม่เคยรู้เลยว่า การเป็นหมอต้องแบกรับความคาดหวังจากคนไข้และญาติคนไข้ ต้องรักษาหายนะ และเสี่ยงต่อการรักษาผิดพลาดตลอดเวลา เพราะ ร่างกายมนุษย์นั้นซับซ้อนเกินยั้งรู้ไปทั้งหมด  เราอาจเป็นพวกกังวลจัดว่าจะผิดจะพลาดจนไม่กล้าทำอะไรเลยก็ได้ แล้วถึงตอนนั้นก็กลายเป็นหมอที่ไม่กล้ารักษาคนไข้ชีวิตเศร้าแน่ๆ เป็นต้น
4. สังเกตว่าตัวเอง มีความถนัด สิ่งที่ทำได้ดี ในเรื่องใด แล้วนำมาเปรียบเทียบกับอาชีพต่างๆ กับความชอบ และความถนัดของเราดู บาง ทีสิ่งที่เราทำได้ดีอาจเป็นเรื่องคาดไม่ถึงก็ได้ เช่น พี่เกียรติเป็นพวกจัดการงานเอกสารเก่งมาก ทำรายงานเป็นเยี่ยม เออ คนทำรายงานเก่ง แบบนี้ก็มีด้วยนะ ฮา บางคนไม่ค่อยพูด แต่กลับเป็นพิธีกรได้ยอดเยี่ยมมากก็มี บางคนคัดลายมือสวยมาก แถมประดิษฐ์อักษรได้หลากหลาย ต่อยอดโดยหันไปทำตัวอักษรใช้ในคอมพิวเตอร์ได้ บางคนสามารถใช้ภาษาที่น้อยคนจะใช้ได้ อย่างภาษาปกาเกอะญอ ก็สามารถไปทำงานด้านการอนุรักษ์วัฒนธรรมได้ดี   
การรับรู้ว่าตัวเองเป็นคนมีความสามารถอะไรสักอย่าง ทำให้เราเห็นคุณค่าในตนเอง และยังสามารถต่อยอดไปสู่อาชีพในอนาคตได้ด้วย ไม่มีใครที่ไม่มีความสามารถเฉพาะตัวหรอก เพียงแต่จะหาเจอหรือเปล่าเท่านั้นเอง เช่น บอมบอมชอบให้บริการและทำให้ผู้อื่นมีความสุข บอมบอมจะไปเป็นพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน เป็นต้น
5. สังเกตจากหนังสือที่อ่าน  วิธีแปลกอย่างไม่น่าเชื่อ แต่คนใช้ได้ก็ต้องอ่านหนังสือมากสักหน่อย ให้ดูแนวหนังสือที่ตัวเอง ว่าชอบเลือกหนังสืออย่างไร ชอบเพราะตัวละคร หรือชอบหนังสือแนวไหน ใครดำเนินเรื่อง บางทีอาชีพของตัวละครที่เราชอบอาจเป็นอาชีพที่เราสนใจก็ได้ 
     โดยปกติแล้ว เราจะสนใจหนังสือที่เขียนโดยนักเขียนที่เราเคยอ่านและชอบมาก่อน ดังนั้น เนื้อหาหรือหนังสือที่เราเลือกก็จะมีแนวทางเดียวกัน
6. เปิดหูเปิดตา ทำกิจกรรมของโรงเรียน เข้าค่ายอบรมต่าง ก็ช่วยได้นะ เพราะงานของโรงเรียนมีหลายๆ ตำแหน่ง อย่างคณะกรรมการนักเรียน ก็มีประธาน มีเลขานุการ มีสวัสดิการ ฝ่ายหาทุน ฝ่ายทำหนังสือโรงเรียน  ใครจะรู้หากเราได้ทำงานต่างๆ เหล่านี้ เราอาจชอบและทำได้ดีในอาชีพที่คล้ายคลึงกันก็ได้ เช่น ฝ่ายทำหนังสือโรงเรียน ทำงานคล้ายกับตำแหน่งบรรณาธิการหนังสือ ฝ่ายหาทุนของโรงเรียน นี่คืองานด้านการตลาดในอาชีพจริงๆ เลย 
ที่มา: https://www.dek-d.com/admission/25497/

No comments:

Post a Comment